กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์

ประวัติผู้ก่อตั้ง
          Lord Baden Powell  ผู้ก่อตั้ง กิจการลูกเสือ (Boy Scouts) ได้ก่อตั้งกิจการ    ผู้บำเพ็ญประโยชน์(Girl Guides) ขึ้น ในสหราชอาณาจักร ในปี  พ.ศ.2453 ( ค.ศ. 1910) และให้ Ms. Agnes Powell พี่สาวเป็นผู้ดูแล กิจการ Girl Guides ต่อมา Ms. Agnes Powell  ได้เป็นนายก สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศอังกฤษ(The Girl Guides Association of United Kingdom)

            -  พ.ศ.2500 คุณหญิงกนก สามเสน วิล  นำกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เข้ามา
            -  พ.ศ.2501 จดทะเบียนเป็นสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย
            -  พ.ศ.2506 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์
            -  พ.ศ.2515 องค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลกรับเป็นสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์โดยสมบูรณ์


กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

          “ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ” ( Guide) หมายถึง ผู้ที่ฝึกฝนตนเองให้พร้อมที่จะแนะนำและช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ โดยการฝึกทักษะต่างๆ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และคุณธรรม มีคำปฏิญาณ และกฎ 10 ข้อ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี โดยมีการจัดองค์กรการบริหารตามข้อบังคับและนโยบายขององค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก ( The World Association of Girl Guides and Girl Scouts ) ในปี พ.ศ. 2545 มีประเทศที่เป็นสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์อยู่ทั่วโลก 144 ประเทศ
          ในประเทศไทย คุณหญิงกนก สามเสน วิล ได้นำกิจกรรมนี้เข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อองค์การว่าสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ( The World Association of Thailand ) จดทะเบียนเป็นสมาคมฯ เมื่อ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2506 และองค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลกรับเข้าเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2515

วัตถุประสงค์ของผู้บำเพ็ญประโยชน์

เพื่อให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรี
1. มีอุปนิสัยที่ดีตามแนวทางของคำปฏิญาณและกฎ
2. มีทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบันและอนาคต
3. เป็นผู้นำที่ดีในระบอบประชาธิปไตย
4. รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม


ขอบข่ายการพัฒนา

ในการฝึกจะต้องให้สมาชิก ได้รับการพัฒนาทุกด้าน คือ
1. ร่างกาย (Physical)
2. อารมณ์ (Emotional)
3. สังคม (Social)
4. สติปัญญา (Intellectual)
5. จิตใจ (Spiritual)
6. คุณธรรม (Moral)

เนื้อหาหลักสูตรของกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์

1. การบำเพ็ญประโยชน์ (Giving Service)
2.การเป็นพลเมืองดี (Citizenship)
3.วัฒนธรรมและมรดกของชาติ (Culture and Heritage)
4.สิ่งแวดล้อม (Environment)
5.การอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Relationships)
6.สุขภาพ(Health)
7.ประสบการณ์นานาชาติ (International Understanding)
8.เทคโนโลยี (Technology)
9.ครอบครัว (Family life)
10.วิสัยทัศน์ (My vision)

คำปฏิญาณของผู้บำเพ็ญประโยชน์
1. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่อันพึงมีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
3. ข้าพเจ้าเชื่อและจะปฏิบัติตามกฎของคณะผู้บำเพ็ญประโยชน์

กฎของผู้บำเพ็ญประโยชน์

ข้อ 1 ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้
ข้อ 2 ซื่อสัตย์
ข้อ 3 ทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
ข้อ 4 เป็นมิตรกับคนทั้งหลายและถือเป็นพี่เป็นน้องกับผู้บำเพ็ญประโยชน์ร่วมคณะ
ข้อ 5 สุภาพอ่อนน้อม
ข้อ 6 เมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7 เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
ข้อ 8 อดทนต่อความยากลำบากด้วยใจร่าเริง
ข้อ 9 มัธยัสถ์
ข้อ 10 สุจริตพร้อมกายวาจาใจ



การแต่งกาย





  
สัญลักษณ์




         ผักเบี้ย สามแฉก  (Trefoil)  หมายถึง  คำปฏิญาณทั้งสามข้อ


สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์

1. เยาวสมาชิก ได้แก่ สตรีอายุครบ 4 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
2. สมาชิกสามัญ ได้แก่ สตรีที่บรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปี
3. สมาชิกสมทบ  ได้แก่ บุรุษที่บรรลุนิติภาวะแล้วอายุ 20 ปี 
4. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการอำนวยการของสมาคมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ได้






                                     รุ่นนกน้อยอายุ 4-6 ปี                                            







          รุ่นนกสีฟ้าอายุ 7-11 ปี             





บ.พ.  รุ่นกลางอายุ 12-15 ปี   บ.พ.  รุ่นใหญ่ 16-18 ปี





                                                      ผู้บำเพ็ญประโยชน์มุสลิม


 สมาชิกสามัญ,สมาชิกกิตติมศักดิ์,หัวหน้าหมวดผู้บำเพ็ญประโยชน์สมาชิกสามัญ



สมาชิกสมทบ,สมาชิกกิตติมศักดิ์ชาย